วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์
 http://www.youtube.com/watch?v=zjWVyeIhP_Q 
วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องตี เป็นหลักโดยมีเครื่องเป่าคือขลุ่ยหรือปี่ร่วมอยู่ด้วย ใช้สำหรับเป็นเครื่องประโคมในพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการแสดงโขน ละคร ฟ้อนรำ และมีการผสมวงตามโอกาสที่ใช้ทำให้จำนวนของเครื่องดนตรีมีน้อยมากแตก ต่างกัน   


๑. วงปี่พาทย์ชาตรี
วงปี่พาทย์ชาตรี เป็นวงที่บรรเลงประกอบการแสดงโนรา หนังตลุง และละครชาตรีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ปี่นอก ๒.โทน ๑ คู่ ๓.กลองชาตรี ๑ คู่ ๔.ฆ้องคู่ ๑ ราง ๕.กรับ ๖.ฉิ่ง

 
  ๒.วงปี่พาทย์ไม้แข็ง
วงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นวงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงและประ โคมทั่วไปมี ๓ ขนาดคือ
วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ปี่ใน, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ตะโพน, ๕.กลองทัด, ๖.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก ๔.ระนาดทุ้มไม้ ๕.ฆ้องวงใหญ่ ๖.ฆ้องวงเล็ก ๗.ตะโพน ๘.กลองทัด ๙.ฉิ่ง ๑๐.ฉาบ ๑๑.โหม่ง 

วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑. ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้) ๓.ระนาดเอก ๔.ระนาดทุ้มไม้ ๕.ระนาดเอกเหล็ก ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก ๗. ฆ้องวงใหญ่ ๘.ฆ้องวงเล็ก ๙.ตะโพน ๑๐.กลองทัด ๑๑.ฉิ่ง ๑๒.ฉาบ ๑๓.โหม่ง
๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม


มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงและขนาดเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างกันที่ 
วงปี่พาทย์ไม้แข็งใช้ไม้ตีที่ทำด้วยเชือกแล้วชุบรักเวลาตีลงบนผืนระนาดแล้ว เสียงจะกร้าวแกร็ง แต่วงปี่พาทย์ไม้นวมจะใช้ไม้ระนาดที่พันด้วยผ้าและเชือก ตีลงบนผืนระนาดแล้วมีเสียงนุ่มนวล และในวงปี่พาทย์ไม้นวมนี้ ใช้ขลุ่ยเพียงออ แทนปี่ รวมทั้งใช้ซออู้เข้ามาผสมอยู่ในวงด้วย
การบรรเลงจะมีลักษณะแตกต่างกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง โดยเฉพาะเสียงที่ใช้บรรเลงจะต่ำกว่าเสียงของวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ๑ เสียง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย

๑.ขลุ่ย
, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ซออู้, ๕.ตะโพน, ๖.กลองแขก, ๗.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖.ซออู้, ๗.ตะโพน, ๘.กลองแขก, ๙.ฉิ่ง, ๑๐.ฉาบ, ๑๑.โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ขลุ่ย, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้มไม้, ๔ฆ้องวงใหญ่, ๕.ฆ้องวงเล็ก, ๖ระนาดเอกเหล็ก, ๗.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๘.ซออู้, ๙.ตะโพน, ๑๐.กลองแขก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบ, ๑๓.โหม่ง 

๔. วงปี่พาทย์เสภา
มีเครื่องดนตรีและขนาดของวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่นำตะโพน  กลองทัดออก ใช้กลองสองหน้าแทน แต่โบราณใช้บรรเลงประกอบการขับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นตอน มีระเบียบของการบรรเลงโดยเริ่มจาก โหมโรงเสภา และมีการขับร้องรับปี่พาทย์ด้วยเพลงพม่าห้าท่อน เพลงจระเข้หางยาว เพลงสี่บท และเพลงบุหลัน เรียงลำดับกันไป ต่อจากนั้นจะเป็นเพลงอื่นใดก็ได้ วงปี่พาทย์เสภานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒


 
วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย 
๑. ปี่ใน, ๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.กลองสองหน้า/กลองแขก, ๕.ฉิ่ง


 
วงปี่พาทย์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑. ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ฆ้องวงใหญ่, ๖.ฆ้องวงเล็ก, ๗. กลองสองหน้า / กลองแขก, ๘.ฉิ่ง, ๙.ฉาบ, ๑๐.กรับ, ๑๑.โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ปี่ใน, ๒.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้), ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, ๘.ฆ้องวงเล็ก, ๙.กลองสองหน้า / กลองแขก, ๑๐.ฉิ่ง, ๑๑.ฉาบ, ๑๒.กรับ, ๑๓.โหม่ง 




๕. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นวงดนตรีที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่โดยใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวม และไม่ใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลม เช่น นำเอาฆ้องวงเล็ก และระนาดเอกเหล็ก ออกไป ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ และยังมีขลุ่ยอู้เพิ่มขึ้น ๑ เลา 
ใช้กลองตะโพนแทนกลองทัด และ เพิ่มซออู้ กรับพวงเข้ามาร่วมบรรเลงด้วยสัญญลักษณ์ที่โดดเด่น
 เห็นชัดเจนสำหรับเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง ก็คือฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง




วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้ ใช้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์เท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
๑.ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม), ๒. ระนาดทุ้มไม้, ๓.ระนาดทุ้มเหล็ก ,๔.ฆ้องวงใหญ่, ๕.ขลุ่ยเพียงออ, ๖.ขลุ่ยอู้, ๗. ซออู้, ๘.ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง, ๙. ตะโพน, ๑๐.กลองตะโพน, ๑๑.กลองแขก, ๑๒.ฉิ่ง, ๑๓.กรับพวง 

๖. วงปี่พาทย์นางหงส์
เป็นวงดนตรีที่ใช้ในงานอวมงคล(งานศพ) มีเครื่องดนตรีในวงเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเพียงแต่เปลี่ยน มาใช้ปี่ชวา แทนปี่ใน ใช้กล้องมลายู ๑ คู่ เข้าร่วมบรรเลงด้วย เครื่องดนตรีในวงบรรเลงแบ่งได้ ๓ ขนาด

วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ปี่ชวา,๒.ระนาดเอก, ๓.ฆ้องวงใหญ่, ๔.ฆ้องวงเล็ก, ๕กลองมลายู, ๖.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑. ปี่ชวา๒. ระนาดเอก ๓ ระนาดทุ้ม ๔. ฆ้องวงใหญ่ ๕. ฆ้องวงเล็ก ๖.กลองมลายู ๗. ฉาบเล็ก ๘. ฉิ่ง ๙. โหม่ง ๑๐.ฉาบใหญ่
 
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

๑.ปี่ชวา, ๒.ระนาดเอก, ๓.ระนาดทุ้ม, ๔.ระนาดเอกเหล็ก, ๕.ระนาดทุ้มหล็ก, ๖.ฆ้องวงใหญ่, ๗.ฆ้องวงเล็ก, ๘.กลองมลายู, ๙.ฉาบเล็ก, ๑๐.ฉาบใหญ่, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.โหม่ง, ๑๓.ฉาบใหญ่

๗. วงปี่พาทย์มอญ

เป็นวงดนตรีที่ชาวมอญนำเครื่องดนตรีเข้ามา พร้อมกับการย้ายถิ่นฐานบ้านเรือน ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้หลักการของวงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นหลัก แต่ใช้เครื่องดนตรีของมอญตั้งอยู่ด้านหน้าของวง เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ด้านหลังจะเป็นระนาดเอก ระนาดทุ้ม และเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ ของวงปี่พาทย์(ไทย) เมื่อตั้งวงดนตรีแล้วจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

โอกาสที่ใช้ชาวมอญจะใช้บรรเลงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล สำหรับชาวไทยจะใช้บรรเลงเฉพาะงานอวมงคลเท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงของวงปี่พาทย์ แบ่งเป็น 3 ขนาด ดังนี้
 ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย ๑. ฆ้องมอญวงใหญ่ ๒. ระนาดเอก 
๓.ปี่มอญ ๔ ตะโพนมอญ ๕. เปิงมางคอก ๖. ฉิ่ง
ปี่พาทย์มอญเครื่องคุ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย๑. ฆ้องมอญวงใหญ่ ๒.ฆ้องมอญวงเล็ก ๓. ระนาดเอก ๔.ระนาดทุ้ม ๕. ปี่มอญ๖. ตะโพนมอญ ๗. เปิงมางคอก ๘. โหม่ง ๓ ลูก ๙.ฉิ่ง ๑๐. ฉาบเล็ก ๑๑.ฉาบใหญ่ ๑.กรับ


ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย
๑.ฆ้องมอญวงใหญ่, ๒.ฆ้องมอญวงเล็ก, ๓.ระนาดเอก, ๔.ระนาดทุ้มไม้, ๕.ระนาดเอกเหล็ก, ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗.ปี่มอญ, ๘.ตะโพนมอญ, ๙. เปิงมางคอก, ๑๐.โหม่ง ๓ ลูก, ๑๑.ฉิ่ง, ๑๒.ฉาบเล็ก, ๑๓.ฉาบใหญ่, ๑๔.กรับ 


สื่อนี้เป็นสื่อเพื่อการเรียนเท่านั้น

วงมโหรี

วงมโหรี
วงมโหรี
           วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลง ในการแสดงใดๆ วงมโหรีแบ่งเป็น 5 แบบ

1.วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณ และการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเกิดครั้งแรกสมันอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น
1.1 ทับ(ปัจจุบันเรียกว่า โทน) เครื่องควบคุมจังหวะ
1.2 ซอสามสาย
1.3 กระจับปี่
1.4 กีับพวง

วงมโหรีเครื่องสี่เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ปัจจุบันนิยมให้ผู้หญิงฝึกหัดบรรเลง

2.วงมโหรีเครื่องหก คือวงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก 2 อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับและขลุ่ยเพียงออ ทำนองใช้ฉิ่งแทนกรับ การบีีเลงมีเครื่องดนตรีครบทั้ง ดีด สี ตี และเป่า



3.วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือมโหรีเครื่องเล็ก คือวงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรี และเปลี่ยนแปลงมา ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง ต่อมาได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่เปลี่ยนเป็นจะเข้แทน เวลาบรรเลงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกกว่า



ปัจจุบันวงมโหรีเครื่องเดี่ยวประกอบด้วยเครื่องดนตรี
1.ซอสามสาย 1 คัน ทำหน้าที่คลอเสียงผู้ขับร้อง และบรรเลงดำเนินทำนองร่วมในวง
2.ซอด้วง 1 คัน
3.ซออู้ 1 คัน
4.จะเข้ 1 ตัว
5.ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา
6.ระนาดเอก 1 ราง 
7.ฆ้องวง
8.โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก 
9.ฉิ่ง 1 คู่ 

4. วงมโหรีเครื่องคู่ คือ วงมหโรีเครื่องเดี่ยวที่ได้เพิ่มระนาดทุ้ม และฆ้องวงเล็กเข้ามาในวง วงมโหรีได้เพิ่มซอด้วง และซออู้เป็น 2 คัน จะเข้ 2 ตัว เดิมมีแต่ขลุ่ยเพยงออ เพิ่มขลุ่ยหลีบ 1 เลา เพิ่มซอสามสายอีก 1 คัน ฉาบเล็ก 1 คู่ 


สื่อนี้เป็นสื่อเพื่อการเรียนเท่านั้น 

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

วงเครื่องสาย

วงเครื่องสาย
http://www.youtube.com/watch?v=Ml8uJYzSBbI


วงเครื่องสายไทย
           วงเครื่องสายไทยเป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆว่า " วงเครื่องสาย " มีอยู่ 2 ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่



1.1 วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายและ เป่าอย่างละหนึ่งเครื่องดังนี้  จะเข้ 1 ตัว  ซอด้วง 1 คัน ซออู้ 1 คัน ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา โทน-รำมะนา 1 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่ โหม่ง 1 ใบ


1.2วงเครื่องสายเครื่องคู่  วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายวงเล็ก เป็นหลัก ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอด้วง 2 คัน ซออู้ 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา ขลุ่ยหลิบ 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่ กรับ 1 คู่ โหม่ง 1 ใบ โทน-รำมะนา 1 คู่


2.วงเครื่องสายผสม
               เป้นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างที่สังกัด ในวงเครื่องสายไทยเพียงแต่ เพิ่มเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือ จากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง  หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย การเรียกชื่อวงจะเรียกตามเครื่องดนตรีที่นำมาผสม


3.วงเครื่องสายปี่ชวา
               ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และนำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียวออ คงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบซึ่งมีเสียงสูง และเปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี 2 ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก และวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่


3.1 วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่ชวา 1 เลา ขลุ่ยหลิบ 1 เลา ซอด้วง 1 คัน ซออู้ 1 คัน จะเข้ 1 ตัว กลองแขก 1 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม


3.2 วงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเครื่องปี่ชวาวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายให้เป็น 2 หรือ คู่ ปี่ชวา 1 เลา ขลุ่ยหลิบ 1 เลา ซอด้วง 2 คัน ซออู้ 2 คัน จะเข้ 2 ตัว กลองแชก 1 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม 




สื่อนี้เป็นสื่อเพื่อการเรียนเท่านั้น

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเภทวงดนตรีไทย

ประเภทวงดนตรีไทย

การแบ่งประเภทวงดนตรีจำแนกได้ 3 ประเภท คือ  วงปี่พาทย์ วงมโหรี และ วงเครื่องสาย

คีตกวีดนตรีไทย พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

ประวัติ 
"ครูแปลก" เกิดที่หลังวังกรมพระสมมตอมรพันธ์ เป็นศิษย์คนหนึ่งของครูช้อย สุนทรวาทิน ท่านเคยได้บรรเลงเดี่ยวขลุ่ยถวายต่อหน้า สมเด็จพระนางเจ้าวิคทอเรียที่พิพิธภัณฑ์เมืองริมบลีย์ จนถึงกับถูกขอให้ไปเป่าถวายในพระราชวังบัคกิงแฮมต่อด้วย
ครูแปลกเป็นคนติดเหล้าอย่างหนัก แต่ไม่เคยเมาต่อหน้าศิษย์ ได้เป็นครูสอนวงเครื่องสายหญิงของเจ้าดารารัศมี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ครั้งแรกเป็นขุนประสานดุริยศัพท์ จนได้เป็นพระยาประสานดุริยศัพท์ใน พ.ศ. 2458 ท่านเคยเป่าปี่เพลงทยอยเดี่ยวในพระประดิษฐ์ไพเราะฟัง ถึงกับได้รับคำชมว่า "เก่งไม่มีใครสู้"
นอกจากท่านจะเชี่ยวชาญปี่และขลุ่ยแล้ว ยังเก่งพวกเครื่องหนังด้วย ขนาดสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานณุพัธุวงศ์วรเดชตรัสชมว่า "ไม่ใช่คนนี่.. ไอ้นี่มันเป็นเทวดา" ท่านเป็นอาจารย์ของศิษย์ชั้นครูมากมาย เช่นพระเพลงไพเราะ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ พระยาภูมิเสวิน อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นต้น 

สื่อนี้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น

คีตกวีดนตรีไทย ครูช้อย สุนทรวาทิน

 ครูช้อย สุนทรวาทิน


ประวัติ
 
ครูช้อยเป็นคีตกวีผู้อาภัพ พิการทางตาตั้งแต่เล็ก และเป็นคีตกวีที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ แต่ท่านเป็นครูปี่พาทย์ที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้สอนดนตรีหญิงที่ตำหนักเจ้าลาว (เจ้าดารารัศมี) และเป็นครูของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (เนียม)

ผลงานของ ครูช้อย สุนทรวาทิน

แต่งเพลงรวมทั้งขยายเพลงเดิม เช่น โหมโรงครอบจักรวาลสามชั้น, แขกลพบุรีสามชั้น, แขกโอดสามชั้น, อกทะเลสามชั้น, โหมโรงมะลิเลื้อย

สื่อนี้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น


 

คีตกวีดนตรีไทย หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)


ประวัติ
เป็นบุตรครูสิน ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นศิษย์ของพระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นคนจังหวัด สมุทรสงคราม มีฝีมือในการตีระนาดที่หาตัวจับยาก จึงมีชื่อเสียงโด่งดัง ครั้นได้ตีระนาดถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์ ก็ได้รับรางวัลมากมาย และได้ประทานตำแหน่งเป็น "จางวางมหาดเล็กในพระองค์" คนทั่วไปจึงเรียกว่า "จางวางศร" นอกจากระนาดแล้ว ท่านยังสามารถบรรเลงปี่ได้ดี และสามารถคิดหาวิธีเป่าปี่ให้ เสียงสูงขึ้นกว่าเดิมได้อีก 2 เสียง ในด้านการแต่งเพลง ท่านสามารถแต่งเพลงได้เร็ว และมีลูกเล่นแพรวพราว แม้ในการประกวดการประดิษฐ์ทางรับ คือการนำเพลงที่ไม่เคยรู้จักมาร้องให้ ปี่พาทย์รับ ท่านก็สามารถนำวงรอดได้ทุกครา

ผลงานของ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
- ประดิษฐ์วิธีบรรเลงดนตรี "ทางกรอ" ขึ้นใหม่ในเพลง"เขมรเรียบพระนครสามชั้น"    เป็นผลให้ได้รับพระราชทานเหรียญรุจิทอง ร.5 และ ร.
- ต้นตำรับเพลงทางเปลี่ยน คือ เพลงเดียวกันแต่บรรเลงไม่ซ้ำกันในแต่ละเที่ยว
- พระอาจารย์สอนดนตรีแด่พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทรงมีพระปรีชาสามารถ  พระราชนิพนธ์เพลงได้เอง คือเพลง "คลื่นกระทบฝั่งโหมโรง"   "เขมรละออองค์เถา" และ "ราตรีประดับดาวเถา"
- คิดโน๊ตตัวเลขสำหรับเครื่องดนตรีไทยซึ่งได้ใช้มาจนทุกวันนี้
- นำเครื่องดนตรีชวาคือ "อังกะลุง" เข้ามาและได้แก้ไขจนเป็นแบบไทย
- สอนดนตรีไทยในพระราชสำนักเมืองกัมพูชา และได้นำเพลงเขมรมาทำเป็น   เพลงไทยหลายเพลง
- ตันตำรับการแต่งเพลงและบรรเลงเพลง 4 ชั้น
ท่านเป็นคีตกวีในสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับว่าเป็นดวงประทีปทาง ดนตรีไทย ที่ใหญ่ที่สุดในยุคที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูที่สุดด้วย

สื่อนี้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น
 

ความหมายของ คีตกวี

 ความหมายของคีตกวี

คีตกวี หมายถึงผู้ประพันธ์ดนตรีมักใช้เรียกผู้ที่แต่งและเรียบเรียงดนตรี อาจไม่จำเป็นต้องประพันธ์ดนตรีลงในแผ่นกระดาษเพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์นั้นเป็นครั้งแรก และในภายหลังมีผู้อื่นนำไปใช้บรรเลงตามก็ได้ชื่อว่า คีตกวี ผู้แต่งเพลงมักจะแต่งทั้งท่วงทำนองหลัก และแนวประสานทั้งหมด เพื่อให้นักดนตรีเป็นผู้นำบทเพลงนั้นไปบรรเลงอีกทอดหนึ่ง โดยนักดนตรีจะต้องบรรเลงทุกรายละเอียดที่คีตกวีได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

สื่อนี้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ดนตรี 4 ประเภท

เครื่องดีด






จะเข้
จะเข้เป็นเครื่องดนตรีที่วางดีดตามแนวนอน ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงอยู่ภายใน นิยมใช้ไม้แก่นขนุน เพราะให้เสียงกังวาลดี ด้านล่างเป็นพื้นไม้ เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว ๔ ขา ตอนท้าย ๑ ขา มีสาย ๓ สาย คือ สายเอก(เสียงสูง) สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียว สายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ) ทำด้วยลวดทองเหลือง ทั้งสามสายนี้ขึงจากหลักตอนหัวผ่าน โต๊ะ (กล่องทองเหลืองกลวง) ไปพาดกับ "หย่อง" แล้วสอดลงไปพันกันด้านลูกบิด(ปักทำด้วยไม้หรืองา) สายละลูก โต๊ะนี้ทำหน้าที่ขยายเสียงของจะเข้ให้คมชัดขึ้น ระหว่างราง ด้านบนกับสายจะเข้ จะมีชิ้นไม้เล็ก ๆ ทำเป็นสันหนาเรียกว่า "นม" ๑๑ นม  เพื่อรองรับการกด  นมเหล่านี้มีขนาดสูงต่ำลดหลั่นกันไป ทำให้เกิดเสียงสูง-ต่ำ เวลาดีดจะใช้ไม้ดีดที่ทำด้วยงาหรือเขาสัตว์ กลึงเป็นท่อนกลม ปลายเรียวแหลมมน ดีดปัดสายไปมา ไม้ดีดนี้จะพันติดกับนิ้วชี้มือขวา ส่วนมือซ้ายใช้กดนิ้วบนสายถัดจากนม ไปทางซ้ายเล็กน้อย เพื่อให้เกิดเสียงสูงต่ำตามที่ต้องการ

 เครื่องสี


 
ซอด้วง  ให้เสียงสูงแหลม ที่เป็นเครื่องอุ้มเสียง มีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า ด้วง มีส่วนประกอบ ดังนี้ - กระบอก เป็นส่วนที่อุ้มเสียงให้เกิดกังวาน รูปร่างเหมือนกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งบางทีทำด้วยงาช้าง ไม้ที่ใช้ทำต่างชนิดกันจะให้คุณภาพเสียงต่างกัน เช่น เสียงนุ่ม เสียงกลม เสียงแหลม เป็นต้น ด้านหน้าของกระบอกมีวัสดุบาง ๆ ขึงปิด นิยมใช้หนังงูเหลือม นอกนั้นอาจเป็นหนังลูกวัว หนังแพะ หรือใช้กระดาษว่าวปิดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ - คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ลักษณะกลมยาว สอดปักที่กระบอกตั้งตรงขึ้นไป แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ช่วงบนตั้งแต่ใต้ลูกปิดขึ้นไปจนถึงปลายคัน รูปร่างคล้ายโขนเรือ เรียกว่า "โขน" ปลายโอนโค้งงอนไปทางด้านเปิดของกระบอก ช่วงล่วงนับตั้งแต่ลูกบิดลงไปเรียกว่า "ทวนล่าง" - ลูกบิด มีอยู่สองลูก เสียบอยู่ที่ช่วงล่างของโขน ปลายลูกบิดเจาะรูไว้สำหรับร้อยสายซอ เพื่อขึงให้ตึงตามที่ต้องการ ลูกบิดลูกบน สำหรับสายเสียงต่ำ เรียกว่า ลูกบิดสายทุ้ม ลูกบิดลูกล่าง สำหรับสายที่มีเสียงสูง เรียกว่า ลูกบิดสายเอก - รัดอก เป็นบ่วงเชือกสำหรับรั้งสายซอ นิยมใช้ขนาดเดียวกับสายเอก ใช้ผูกรั้งสายซอทั้งสองเข้ากับทวนล่าง - หย่อง เป็นไม้ชิ้นเล็กใช้หมุนสายซอให้พ้นขอบกระบอก และเป็นตัวรับความสั่นสะเทือนจากสายซอไปสู่หน้าซอ - คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง รูปโค้ง ด้ามมือจับมีหมุดสำหรับให้เส้นหางม้าคล้อง อีกด้านหนึ่งเจาะรูไว้ร้อยเส้นหางม้า ซึ่งมีประมาณ ๒๕๐ เส้น สอดเส้นหางม้าให้อยู่ภายในระหว่างสายเอกกับสายทุ้ม
เครื่องตี


ระนาดเอก
ระนาดเอก ที่ให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว นิยมทำด้วยไม้แก่น ลูกระนาดมี ๒๑ ลูก ลูกที่ ๒๑ หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้ามหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางเรียกว่า "โขน" ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้าพัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปีพาทย์ไม้นวม"
วิธีตี เมื่อตีตามจังหวะของลูกระนาดแล้วจะเกิดเสียงกังวาล ลดหลั่นกันไปตามลูกระนาด ระนาดที่ให้เสียงแกร่งกร้าว อันเป็นระนาดดั้งเดิมเรียกว่า ระนาดเอก 

เครื่องเป่า

 http://www.youtube.com/watch?v=cFlWbpQTcUE

ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า ขลุ่ยมี ๕ ชนิด คือ ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยนก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลีบ


สื่อนี้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น